ช่วงระหว่าง 17-18 กรกฎาคม 2568 มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมมือส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดงาน “โครงการเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน” นำเสนอข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พร้อมเสวนาวิชาการเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “การส่งเสริมรักษาชุดไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของยูเนสโกในปี 2569 ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดงาน “โครงการเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน” โดยมีนางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2568 ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โครงการนี้มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยมานำเสนอผ่านเวทีวิชาการ งานวิจัย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย เยาวชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้และต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมกับยุคสมัย โดยยังคงรักษารากเหง้าทางวัฒนธรรมของชาติไว้
นางสาววราพรรณ กล่าวว่า “การขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน” สำหรับภาพรวมของการจัดงาน มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากผลงานวิจัยและฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 36 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 17- 18 กรกฎาคม 2568 ประกอบด้วย
โดยกิจกรรมในงานมีการเสวนาเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ชุดไทย” ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมรักษาชุดไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดย นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม และคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม นางพนิดา ฐปนางกูร ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ นายมารุตร์ เกื้อเกตุ ดีไซน์เนอร์ระดับประเทศ ดำเนินกำรเสวนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศ โครงการเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน โดยมีการนำชุดไทย ในรูปแบบต่าง ๆ มาจัดแสดง และมีการเดินแบบชุดไทย โดยมีการนำเสนอทั้งชุดไทยดั้งเดิม งานพิธี และชุดไทยร่วมสมัย ซึ่งมีรูปแบบ เอกลักษณ์เฉพาะ และช่วงเวลาและพิธีการของการสวมใส่ที่แตกต่างกัน โดยผู้ออกแบบทั้งหมดคือ นายมารุตร์ เกื้อเกตุ ดีไซเนอร์ชื่อดังระดับประเทศ
งานนี้เน้นการใช้ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้ายกดิ้นทอง ซึ่งเป็นวัสดุพื้นถิ่นที่มีลวดลายและโครงสร้างเฉพาะถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความประณีต งดงาม เป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไทยควรภาคภูมิใจ เพื่อยกระดับการรับรู้ในระดับนานาชาติ อนุรักษ์และส่งต่อองค์ความรู้การออกแบบ การตัดเย็บ และบริบทการใช้งานชุดไทยในโอกาสต่าง ๆ อันจะสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ไทย และพร้อมเผยแพร่สู่เวทีสากลในฐานะ “ซอฟต์พาวเวอร์” (Soft Power) โครงการนี้ถือเป็นการบูรณาการความรู้จากภาคการศึกษา งานวิจัย และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมหาวิทยาลัยทักษิณทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ มรดกทางวัฒนธรรมสู่สาธารณะและประชาคมโลก พร้อมส่งเสริมความเข้าใจในคุณค่าของ “ชุดไทย” ที่มากกว่าความสวยงาม แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาและความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ
ทั้งนี้ชุดไทยจึงไม่เพียงเป็นมรดกทางวัฒนธรรม แต่ยังสะท้อนภูมิปัญญา ความภาคภูมิใจ และสถานะของคนไทยในมิต่างต่าง ๆ ทั้งทางวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจ โดยมีศักยภาพในการต่อยอดสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับโลกอย่างยั่งยืน
............................................
ข่าว : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย