ม.ทักษิณ ผนึกกำลัง สอวช. สร้างเครือข่าย UHC เสริมพลังนวัตกรรมสู่อนาคต ในเวที UHC Networking Forum

ม.ทักษิณ ผนึกกำลัง สอวช. สร้างเครือข่าย UHC เสริมพลังนวัตกรรมสู่อนาคต ในเวที UHC Networking Forum

7 พ.ค. 68 132

มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดประชุม UHC Networking Forum เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไก University Holding Company (UHC) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ยกระดับเศรษฐกิจนวัตกรรมของประเทศ

งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 ณ ห้อง Hybrid Learning 1 ชั้น 7 อาคาร 50  ปี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ และคณะผู้บริหารร่วมให้การต้อนรับ

รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ กล่าวว่า สังคมมหาวิทยาลัยต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนกลไก Holding Company ไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่จำเป็นต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนชุดความรู้และประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างมีพลัง

ด้าน ดร.สุรชัย กล่าวว่า กลไก UHC เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ซึ่ง สอวช. ได้ส่งเสริมผ่านระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ปี 2566 ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งจัดตั้ง UHC แล้ว โดยถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ภายในงานมีการบรรยายหัวข้อ “ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนนโยบาย University Holding Company” โดย นางสาวมนันยา ชุณหวุฒิยานนท์ ผู้อำนวยการฝ่าย สอวช. จากนั้นเป็นการเสวนา “กลยุทธ์การลงทุนผ่านกลไก UHC” โดยคณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ได้แก่

   ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

   รศ.ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ

   ดร.เบญจวรรณ มุ่งรักษาธรรม ผู้อำนวยการส่วนงานประเมินเทคโนโลยี บริษัท อินโนสเปช (ประเทศไทย) จำกัด

   คุณอภิวัฒน์ ทองประเสริฐ  กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิสอัพ จำกัด

ช่วงบ่ายมี Workshop แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับจังหวะการขับเคลื่อนของ UHC ในประเทศไทย พร้อมการนำเสนอกรณีศึกษาจาก Startup และโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมของมหาวิทยาลัยทักษิณ

การจัดงานครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของเครือข่าย University Holding Company ในประเทศไทย ในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน โดยใช้กลไก UHC เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise: IDE) ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายระดับชาติในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

.............................

ข่าว : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัย